Computer
วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554
โครงสร้าง โรงงานไฟฟ้าพลังงานความร้อน
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Cycle Power Plant)
ลักษณะการทำงานโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม เป็นการนำเอาเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ และโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำมาใช้งานเป็นระบบร่วมกัน โดยการนำไอเสียจากโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ ซึ่งมีความร้อนสูง (ประมาณ 500 องศาเซลเซียส) ไปผ่านหม้อน้ำ (Heat Recovery Steam Generator) และถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำ ทำให้น้ำเดือดกลายเป็นไอ เพื่อขับกังหันไอน้ำ สำหรับผลิตพลังงานไฟฟ้าต่อไป โดยทั่วไปโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะประกอบด้วยเครื่องกังหันก๊าซ 1 – 4 เครื่องร่วมกับกังหันไอน้ำ 1 เครื่อง โรงไฟฟ้าก๊าซในประเทศไทยส่วนใหญ่จะใช้เป็นแบบชนิดนี้ เนื่องจากให้ประสิทธิภาพดีกว่า เช่น โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ โรงไฟฟ้าพระนครใต้ โรงไฟฟ้าน้ำพอง โรงไฟฟ้าราชบุรี เป็นต้น
1.ส่วนประกอบที่สำคัญโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมประกอบด้วย
1.1 เครื่องกังหันก๊าซ (เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ)
1.2 หม้อน้ำ (Waste Heat Boiler หรือ Heat Recovery Load Generator)
1.3 เครื่องกังหันไอน้ำ (เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ)
1.1 เครื่องกังหันก๊าซ (เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ)
1.2 หม้อน้ำ (Waste Heat Boiler หรือ Heat Recovery Load Generator)
1.3 เครื่องกังหันไอน้ำ (เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ)
โรงไฟฟ้าที่ใช้ความร้อนจากเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ทำให้น้ำกลายเป็นไอน้ำไปขับเครื่องกังหันให้หมุนและให้พลังงานกลออกมาหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นพลังงานไฟฟ้าการทำงานของเครื่องกังหันไอน้ำ ไอน้ำที่มีอุณหภูมิและความดันสูงจากท่อนำไอน้ำจะไหลเข้าสู่เครื่องกังหันไอน้ำผ่านทางวาล์วของระบบควบคุม เพื่อควบคุมการไหลของไอน้ำที่จะไปหมุนกังหันไอน้ำให้เหมาะสมกับความเร็วรอบหรือภาวะที่ต้องการ จากนั้นไอน้ำก็จะไหลเข้าสู่ตัวกังหันโดยมีเพลาหมุนและใบพัดติดตั้งอยู่ภายในตัวถัง เพลานี้จะถูกรองรับด้วยแบริ่ง (Bearing) เมื่อไอน้ำไหลเข้ามาในตัวกังหันไอน้ำทำให้ความเร็วการไหลของไอน้ำในตัวกังหันสูงขึ้น ไอน้ำที่ความเร็วสูงนี้จะไปปะทะกับใบพัด (Moving Blade) ที่ติดอยู่กับเพลา ทำให้เกิดแรงผลักดันให้เพลาของกังหันหมุน เมื่อไอน้ำผ่านชุดของใบพัดจนครบ ความดันและอุณหภูมิของไอน้ำจะลดลง ไอน้ำก็จะไหลออกจากกังหันเข้าสู่เครื่องควบแน่น เมื่อไอน้ำไหลเข้าสู่เครื่องควบแน่น ไอน้ำจะถ่ายเทความร้อนผ่านท่อ และเปลี่ยนสถานะเป็นน้ำบริสุทธิ์อีกครั้งหนึ่ง
วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554
ถ่านไฟฉาย
ถ่านไฟฉาย
......... ถ่านไฟฉาย เป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่ไม่ใช้สารละลายที่เป็นของเหลว จึงเรียกว่า เซลล์แห้ง ( Dry cell) ผู้ที่สร้างเซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดนี้คือ เลอคังเช ดังนั้นจึงอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เซลล์เลอคังเช ถ่านไฟฉาย 1 ก้อน หรือ 1 เซลล์มีความต่างศักย์ประมาณ 1.5 โวลต์
......... ถ่านไฟฉาย เป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่ไม่ใช้สารละลายที่เป็นของเหลว จึงเรียกว่า เซลล์แห้ง ( Dry cell) ผู้ที่สร้างเซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดนี้คือ เลอคังเช ดังนั้นจึงอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เซลล์เลอคังเช ถ่านไฟฉาย 1 ก้อน หรือ 1 เซลล์มีความต่างศักย์ประมาณ 1.5 โวลต์
ส่วนประกอบของถ่านไฟฉายและทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสอิเล็กตรอน
......... ถ่านไฟฉายเมื่อใช้ไปนาน ๆ ปฏิกิริยาเคมีจะเกิดน้อยลง ( ความต่างศักย์ลดลง ) เนื่องจากสารเคมีที่ใช้ทำปฏิกิริยาเคมีเหลือน้อยลง ขณะเกิดปฏิกิริยาเคมีจะมีน้ำเกิดขึ้น ดังนั้นเมื่อใช้งานไปนาน ๆ ถ่านไฟฉายจะบวม เยิ้ม เปียก แสดงว่า ถ่านเสื่อมสภาพ ควรเลิกใช้ เพราะมีสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แมงกานีสไดออกไซด์ ( MnO 2)เป็นสารที่มีอันตรายถ้าเข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายระบบประสาทของร่างกาย
ส่วนประกอบต่างๆ ของถ่านไฟฉายนี้
- แท่งคาร์บอนหรือแท่งถ่าน ทำหน้าที่เป็นขั้วบวก
- แอมโมเนียมคลอไรด์ ทำหน้าที่เป็นสารละลายอิเล็กโตรไลต์
- แมงกานีสไดออกไซด์ + ผงถ่าน + กาวที่อัดกันแน่น
- กล่องสังกะสี ทำหน้าที่เป็นขั้วลบ
......... เมื่อต่อถ่านไฟฉายเข้ากับวงจรไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วบวก (แท่งคาร์บอน) ของ ถ่านไฟฉาย ผ่านวงจรไฟฟ้าแล้วกลับมายังขั้วลบ (กล่องสังกะสี) โดยมีแอมโมเนียมคลอไรด์ทำหน้าที่ เป็นสารละลายอิเล็กโตรไลต์ 1 ซึ่งช่วยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ มีผงถ่านช่วยนำไฟฟ้า และแมงกานีสไดออกไซด์ช่วยทำให้ความต่างศักย์ของเซลล์คงตัว แต่เมื่อใช้ไปเรื่อยๆ ความต่างศักย์ระหว่างขั้วเซลล์จะค่อยๆ ลดลงจนไม่มีความต่างศักย์หรือมีศักย์ไฟฟ้าเท่ากันในที่สุด จึงทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลและใช้ต่อไปอีกไม่ได้ หรือที่เราเรียกว่าถ่านหมดนั่นเอง จากที่ผ่านมาจะเห็นว่าถ่านไฟฉายสามารถเปลี่ยนพลังงานเคมีที่สะสมอยู่ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าออกมาได้
วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)