วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ดูแลรักเขาให้ดี

โครงสร้าง โรงงานไฟฟ้าพลังงานความร้อน

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Cycle Power Plant)    
   
           ลักษณะการทำงานโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม เป็นการนำเอาเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ และโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำมาใช้งานเป็นระบบร่วมกัน โดยการนำไอเสียจากโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ ซึ่งมีความร้อนสูง (ประมาณ 500 องศาเซลเซียส) ไปผ่านหม้อน้ำ (Heat Recovery Steam Generator) และถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำ ทำให้น้ำเดือดกลายเป็นไอ เพื่อขับกังหันไอน้ำ สำหรับผลิตพลังงานไฟฟ้าต่อไป โดยทั่วไปโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะประกอบด้วยเครื่องกังหันก๊าซ 1 – 4 เครื่องร่วมกับกังหันไอน้ำ 1 เครื่อง โรงไฟฟ้าก๊าซในประเทศไทยส่วนใหญ่จะใช้เป็นแบบชนิดนี้ เนื่องจากให้ประสิทธิภาพดีกว่า เช่น โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ โรงไฟฟ้าพระนครใต้ โรงไฟฟ้าน้ำพอง โรงไฟฟ้าราชบุรี เป็นต้น
1.ส่วนประกอบที่สำคัญโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมประกอบด้วย
     1.1 เครื่องกังหันก๊าซ (เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ)
     1.2 หม้อน้ำ (Waste Heat Boiler หรือ Heat Recovery Load Generator)
     1.3 เครื่องกังหันไอน้ำ (เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ)


      โรงไฟฟ้าที่ใช้ความร้อนจากเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ทำให้น้ำกลายเป็นไอน้ำไปขับเครื่องกังหันให้หมุนและให้พลังงานกลออกมาหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นพลังงานไฟฟ้าการทำงานของเครื่องกังหันไอน้ำ ไอน้ำที่มีอุณหภูมิและความดันสูงจากท่อนำไอน้ำจะไหลเข้าสู่เครื่องกังหันไอน้ำผ่านทางวาล์วของระบบควบคุม เพื่อควบคุมการไหลของไอน้ำที่จะไปหมุนกังหันไอน้ำให้เหมาะสมกับความเร็วรอบหรือภาวะที่ต้องการ จากนั้นไอน้ำก็จะไหลเข้าสู่ตัวกังหันโดยมีเพลาหมุนและใบพัดติดตั้งอยู่ภายในตัวถัง เพลานี้จะถูกรองรับด้วยแบริ่ง (Bearing) เมื่อไอน้ำไหลเข้ามาในตัวกังหันไอน้ำทำให้ความเร็วการไหลของไอน้ำในตัวกังหันสูงขึ้น ไอน้ำที่ความเร็วสูงนี้จะไปปะทะกับใบพัด (Moving Blade) ที่ติดอยู่กับเพลา ทำให้เกิดแรงผลักดันให้เพลาของกังหันหมุน เมื่อไอน้ำผ่านชุดของใบพัดจนครบ ความดันและอุณหภูมิของไอน้ำจะลดลง ไอน้ำก็จะไหลออกจากกังหันเข้าสู่เครื่องควบแน่น เมื่อไอน้ำไหลเข้าสู่เครื่องควบแน่น ไอน้ำจะถ่ายเทความร้อนผ่านท่อ และเปลี่ยนสถานะเป็นน้ำบริสุทธิ์อีกครั้งหนึ่ง

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

สวัสดี......จร๊า

ถ่านไฟฉาย

ถ่านไฟฉาย
......... ถ่านไฟฉาย เป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่ไม่ใช้สารละลายที่เป็นของเหลว จึงเรียกว่า เซลล์แห้ง ( Dry cell) ผู้ที่สร้างเซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดนี้คือ เลอคังเช ดังนั้นจึงอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เซลล์เลอคังเช ถ่านไฟฉาย 1 ก้อน หรือ 1 เซลล์มีความต่างศักย์ประมาณ 1.5 โวลต์
ส่วนประกอบของถ่านไฟฉายและทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสอิเล็กตรอน
......... ถ่านไฟฉายเมื่อใช้ไปนาน ๆ ปฏิกิริยาเคมีจะเกิดน้อยลง ( ความต่างศักย์ลดลง ) เนื่องจากสารเคมีที่ใช้ทำปฏิกิริยาเคมีเหลือน้อยลง ขณะเกิดปฏิกิริยาเคมีจะมีน้ำเกิดขึ้น ดังนั้นเมื่อใช้งานไปนาน ๆ ถ่านไฟฉายจะบวม เยิ้ม เปียก แสดงว่า ถ่านเสื่อมสภาพ ควรเลิกใช้ เพราะมีสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แมงกานีสไดออกไซด์ ( MnO 2)เป็นสารที่มีอันตรายถ้าเข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายระบบประสาทของร่างกาย
ส่วนประกอบต่างๆ ของถ่านไฟฉายนี้
  • แท่งคาร์บอนหรือแท่งถ่าน ทำหน้าที่เป็นขั้วบวก
  • แอมโมเนียมคลอไรด์ ทำหน้าที่เป็นสารละลายอิเล็กโตรไลต์
  • แมงกานีสไดออกไซด์ + ผงถ่าน + กาวที่อัดกันแน่น
  • กล่องสังกะสี ทำหน้าที่เป็นขั้วลบ
......... เมื่อต่อถ่านไฟฉายเข้ากับวงจรไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วบวก (แท่งคาร์บอน) ของ ถ่านไฟฉาย ผ่านวงจรไฟฟ้าแล้วกลับมายังขั้วลบ (กล่องสังกะสี) โดยมีแอมโมเนียมคลอไรด์ทำหน้าที่ เป็นสารละลายอิเล็กโตรไลต์ 1 ซึ่งช่วยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ มีผงถ่านช่วยนำไฟฟ้า และแมงกานีสไดออกไซด์ช่วยทำให้ความต่างศักย์ของเซลล์คงตัว แต่เมื่อใช้ไปเรื่อยๆ ความต่างศักย์ระหว่างขั้วเซลล์จะค่อยๆ ลดลงจนไม่มีความต่างศักย์หรือมีศักย์ไฟฟ้าเท่ากันในที่สุด จึงทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลและใช้ต่อไปอีกไม่ได้ หรือที่เราเรียกว่าถ่านหมดนั่นเอง จากที่ผ่านมาจะเห็นว่าถ่านไฟฉายสามารถเปลี่ยนพลังงานเคมีที่สะสมอยู่ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าออกมาได้